Coding Gun

Automated testing คืออะไร?

Cost of software defect
ที่มา: https://dzone.com/articles/the-exponential-cost-of-fixing-bugs
เนื่องจากต้นทุนในการแก้ไข defect ของเราจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงต้องพยายามค้นหา bugs หรือ defects ให้เจอตั้งแต่ phase แรกๆ ในปัจจุบันเราสามารถใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยทำ Automated testing เพื่อให้เราทดสอบ software ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่งเครื่องมือที่ทำ Automated Testing นั้นมีอยู่เยอะมากๆ ในบทความนี้เราจะพาคุณไปดูแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือและแนวคิดต่างๆที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเมื่อคุณเปลี่ยนจาก manual test มาเป็น automated testing

Automated Test vs Manual Test

การเปลี่ยนจากการทดสอบแบบ Manual(ใช้คนทดสอบ) มาเป็น Automation นั้นจะต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. Training Cost เครื่องมือต่างๆเป็นของใหม่ เราจำเป็นต้องเรียนรู้เครื่องมือต่างๆเหล่านี้ใหม่ทั้งหมด
  2. New Hardware การใช้เครื่องมือบางตัวอาจต้องการ Server หรือ Hardware พิเศษ เราอาจต้องมีการลงทุนในส่วนนี้เพิ่ม
  3. License Cost เครื่องมือที่ใช้ทำ Automated Test มีทั้งฟรีและ ไม่ฟรีดังนั้นถ้าคุณต้องการเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและมีทีม support คุณอาจต้องเลือก commercial product
  4. Reduce Productivity ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงคุณต้องแลกมาด้วย productivity เสมอ เมื่อทีมงานเริ่มค้นเคยกับเครื่องมือแล้ว เมื่อนั้น productivity ของคุณจะดีขึ้น
  5. Time to Market เมื่อ productivity น้อยลง(ทำงานได้ช้าลง) ก็จะทำให้การส่งงานช้าลงตามไปด้วย ดังนั้นนี่เป็นเรื่องที่ต้องวางแผน

ข้อดีของการทำ Automated Testing

แน่นอนว่าสิ่งที่เราแลกมามันคุ้มต่ามากๆ กับการได้มาซึ่ง Automation และนี่ตือข้อดีของการทำ Automated Testing

Automated Test ไม่สามารถแทนที่ Manual Test ได้ทั้งหมด

ประเภทของ Testing Automation

การทดสอบแบบอัตโนมัตินั้นมีอยู่หลาย level ด้วยกันซึ่งเราจะแยกออกเป็น 5 กลุ่มใหญๆ ดังนี้

  1. Unit Testing ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับภาษาและ Framework ที่เราใช้อยู่แล้ว
  2. Integration Testing เป็นการทดสอบการทำงานของ Function ต่างๆ โดยที่จะมีการ connect กับ database, API หรือ service อื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีปัญหาเมื่อไปเชื่อมโยงกับระบบหรือ service อื่นๆ
  3. API Testing เป็นการทดสอบ API โดยตรงๆไม่ผ่านหน้า UI
  4. UI Testing เป็นการทดสอบผ่านทางหน้า UI การทดสอบนี้จะจำลองการกดปุ่มหรือทำให้เกิด event อื่นๆบน browser เหมือนกับมีผู้ใช้งานเข้าไปใช้งานระบบจริงๆ
  5. End-To-End Testing เป็นการทดสอบ Flow การทำงานของระบบตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งการทดสอบสามารถทำได้ 2 ทางคือ
    • ทดสอบผ่าน UI
    • ทดสอบผ่าน API โดยตรง เราควรทำ End-To-End Testing ทั้ง 2 แบบ แต่จะเน้นที่ฝั่งของ API มากกว่า

หลักการเขียน Test Script

การเขียน Test script ที่ดีจำเป็นต้องยึดหลักการเขียนเหล่านี้

  1. Don’t repeat yourself(DRY) เราต้องไม่ copy/paste อย่าพยายามใช้ code ซ้ำไปซ้ำมา ต้องพยามสร้าง modules เพื่อให้สามารถเรียกใช้ได้ในอนาคต
  2. Domain specific language(DSL) พยายามใช้ตัวแปรหรือชื่อ class ให้สอดคล้องกับ source code

นอกจากนี้ Test script ยังควรจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการทำ Automated Test

การจะเลือกว่าส่วนไหนของ application ที่เราจะนำมาทำ Automated Test(เราไม่สามารถทำทุกอย่างเป็น automation ได้ทั้งหมด) จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. list รายการของ scenario ที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนนี้คุณต้อง brainstorm เพื่อหาว่าการใช้งาน application ในส่วนนี้ของเรามี scenario ไหนบ้าง เช่นในหน้า shopping cart คุณอาจมี scenario ดังต่อไปนี้

    • add สินค้าเข้าไปในใน cart
    • add สินค้ามากกว่า 1 ชิ้นเข้าไปใน cart
    • add สินค้าเข้าไปใน cart แล้วลบออก
    • add สินค้าเข้าไปแล้ว checkout

    นี่เป็นตัวอย่างของการ list ว่าใน application ของเรามีการทำงานยังไงและเราสามารถสลับขั้นตอนไหนได้บ้าง

  2. ประเมินคุณค่า(Value) นำ scenario นั้นมาให้คะแนน(1-5) โดยที่ scenario ไหนสำคัญมากให้คะแนนมาก

  3. ประเมินความเสี่ยง(Risk) ของแต่ละ scenario โดยพิจารณา

    • Impact ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ user(รุนแรงมากให้คะแนนมาก)
    • Probability มีการใข้งานบ่อยขนาดไหน
  4. ประเมินต้นทุน(Cost) โดยเราจะคิดจากเวลาที่ใช้เขียน Test script ถ้า Test script ไหนเขียนง่ายก็จะได้คะแนนเยอะ

  5. นำ Value, Risk และ Cost มาคูณกัน scenario ไหนที่ได้คะแนนออกมามาก ก็แสดงว่าควรต้องนำมาทำก่อน เพราะเป็น Test script ที่มีความสำคัญสูง และทำได้ง่าย

เราอาจกำหนดเกณฑ์จากคะแนนที่ได้ เช่น เราจะทำ Automation เฉพาะ scenario ที่มีคะแนนมากกว่า 12

Code Coverage

การวัดว่า test script ที่เราเขียนนั้นมีคุณภาพที่ดีแต่ไหนเราจำเป็นต้องดู

  1. ปริมาณ bugs หรือ defects ที่ค้นพบ
  2. Code coverage ค่าที่บอกว่า test script ของเราครอบคลุม code กี่เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด

Code Coverage Tools

เราต้องติดตั้งเครื่องมือที่ใช้วัดว่า code ของเราถูก test ไปเท่าไหร่แล้ว(Code Coverage) ในตัวอย่างนี้เราจะใช้ istonbul.js โดยจะมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  1. Install code coverage tool

    $ npm install --save-dev nyc
    
  2. เรียกใช้งาน

    $ nyc mocha --recursive test/unit/cart.spec.js
    

    ในตัวอย่างนี้เราจะเรียกใช้งาน หน้า mocha หลังจากเรียกใช้งาน เราจะได้ report ออกมาดังรูป

    Code Coverage Report
    Code coverage report

    จากรูปจะเห็นว่าจะมี % ของ code ที่ถูก test ออกมาให้เราเห็น ถ้าตรงไหนถูก test น้อยจะเป็น สีแดง ซึ่งนั่นจะเป็นส่วนที่เราอาจต้องเพิ่ม Test case เข้าไป สิ่งที่ต้องระวังคืออย่าเน้นแค่เขียน Test case ให้ได้ code coverage มากขึ้น

การเพิ่ม Test case เข้าไปในการทดสอบ ต้องเน้นที่ Value มากกว่า Code Coverage

อ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับ Automated Testing ได้ที่นี่

Phanupong Permpimol
Follow me