Coding Gun

หัดใช้งาน Azure CLI

Azure CLI เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการ Azure แทนที่จะต้องเข้าผ่านทาง Azure Portal

เราสามารถใช้งาน Azure CLI ได้ 2 ทางคือ

  1. ติดต้ังลงในเครื่อง ซึ่งในบทความนี้เราจะใช้วิธีการติดตั้งแบบนี้
  2. ใช้ Azure CLI ผ่านทาง Cloud Shell ไม่ต้องติดต้ัง Azure CLI ลงในเครื่อง

ติดต้ังและใช้งาน Azure CLI

ขั้นตอนแรกเราต้องติดตั้ง Azure CLI ลงในเครื่องก่อน วิธีการติดตั้งในแต่ละ OS มีดังนี้

ติดตั้ง Azure CLI ลงบน Windows

บน Windows เราสามารถ Download ไฟล์ MSI ลงมาติดตั้งได้เลย โดยเลือกว่าเราเป็นเครื่อง 32 bits หรือ 64 bits

ติดตั้ง Azure CLI ลงบน MacOS

ถ้าเป็น MacOS เราจะติดตั้งผ่าน Home Brew ด้วยคำสั่ง

$ brew update
$ brew install azure-cli

ติดตั้ง Azure CLI ลงบน Linux

ถ้าเป็น Linux เราจะติดตั้งด้วย Bash Script โดยใช้คำสั่ง

$ curl -sL https://aka.ms/InstallAzureCLIDeb | sudo bash

Login เข้าใช้งาน Azure

หลังจากติดตั้ง Azure CLI เรียบร้อยแล้วเราจะต้อง Login เข้าไปใช้งาน Azure ด้วยคำสั่ง

$ az login

หลังจากนั้นจะมี pop-up ขึ้นมาให้เรา Login ด้วย User ของ Azure หลังจาก Login เสร็จเรียบร้อยเราจะสามารถใช้งานคำสั่งต่างๆหลังจากนี้ได้เลย

Update Azure CLI

หลังจากที่เราติดตั้ง Azure CLI ลงในเครื่องแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปเราจำเป็นต้อง update version ใหม่ เราจะใช้คำสั่ง

$ az upgrade

และถ้าเราต้องการให้ Azure CLI เช็ค version ล่าสุดให้เราโดยอัตโนมัติ เราจะต้องกำหนดใน configuration ด้วยคำสั่ง

$ az config set auto-upgrade.enable=yes

ถ้าเราไม่ต้องการให้มี prompt ขึ้นมาให้เรายืนยันการ update เราจะต้องกำหนด configuration ด้วยคำสั่ง

$ az config set auto-upgrade.prompt=no

เมื่อเราสั่ง az upgrade เราจะ upgrade extension โดยอัตฌนมัติ

Azure CLI สำหรับจัดการ Account

ในคำสั่งชุดแรกของ Azure CLI คือ account คำสั่งที่เราใช้บ่อยๆมีดังนี้

List รายชื่อ Region

คำสั่งนี้เราจะใช้ list รายชื่อของ regions ออกมาดู เพื่อจะได้เลือก region ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด

$ az account list-locations

และเมื่อเราต้องใส่ argument --location เราจะต้องใส่ชื่อของ region ให้ถูกดังนั้นเราอาจต้อง check ชื่อของ region ที่เราจะใช้ด้วยคำสั่งนี้

คำสั่งสำหรับจัดการกับ Region Group

บน Azure เราจะจัดกลุ่มของ Resources เรื่องเดียวกันเอาไว้ใน Resource Group เดียวกัน ซึ่งเราสามารถจัดการกับ Resource Group ด้วยคะสั่งต่างๆต่อไปนี้

คำสั่งที่ใช้จัดการกับ Container

หลังจากนี้ลองมาดูตัวอย่างคำสั่งที่ใช้ในการจัดการ Container กันบ้าง ซึ่งในตัวอย่างนี้เราจะสร้าง Container ขึ้นมา โดยสร้าง Container ขึ้นมาจาก Image ชื่อ aci-helloworld จาก Container Registry ของ Microsoft

$ az container create --resource-group az204-aci-rg \
    --name mycontainer \
    --image mcr.microsoft.com/azuredocs/aci-helloworld \
    --ports 80 \
    --location asiapacific

หลังจากสร้าง Container ขึ้นมาเรียบร้อยแล้วเราก็จะเข้าไปดู contaienr ตัวที่เราสร้างขึ้นด้วย az container show

az container show \
    --resource-group az204-aci-rg \
    --name mycontainer \
    --query "{FQDN:ipAddress.fqdn,ProvisioningState:provisioningState}" \ 
    --out table

ผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาเป็น Domain ที่สามารถเข้าถึง Container ของเราได้แบบนี้

 FQDN                                    ProvisioningState
  --------------------------------------  -------------------
  xxxxxx.eastus.azurecontainer.io         Succeeded

เราสามารถ copy Public Domain นี้ไปวางบน Browser ได้เลย

เพิ่ม Extensions

Azure CLI นั้นสามารถเพิ่ม commands เข้ามาด้วยการติดตั้ง extensions เข้ามาเพิ่ม ซึ่งเราสามารถ list รายการ extensions ออกมาได้ด้วยคำสั่ง

$ az extension list-available --output table

Add extension

เมื่อเราต้องการเพิ่ม extension เข้ามากเราจะระบุชื่อของ extension เข้าไปแบบนี้

$ az extension add --name anextension --upgrade

เช่น ถ้าเราต้องการเพิ่ม extension สำหรับจัดการ Azure DevOps เราจะใช้คำสั่ง

$ az extension add --name azure-devops --upgrade

หลังจากนั้นเราจะสามารถจัดการกับ Azure DevOps ได้ โดยใช้ az devops ยกตัวอย่างเช่น

$ az devops user list --org your-orgaization-name

เราใช้คำสั่งนี้ในการ list รายชื่อ users ใน Azure Devops Organization ออกมาดู

Remove extension

หลังจากที่เราไม่ใช้ extension นั้นแล้วให้เราใช้ az extension remove เพื่อ uninstall extension ออกแบบนี้

$ az extension remove --name MyExtension
Phanupong Permpimol
Follow me